นักวิทย์สุดบ้าบิ่น
เชื่อหรือไม่นักวิทยาศาสตร์บางคนไม่ลังเลที่จะกินยาพิษ เผาตนเอง แม้กระทั่งกลืนอาเจียนหรือแบคทีเรียเข้าไปจนเฉียดตายก็มี แน่นอนว่าจุดประสงค์ที่เขาทำนั้นน่านับถือ และวิทยาศาสตร์ก็ออกจะเป็นหนี้บุญคุณนักวิทยาศาสตร์ที่ออกจะบ้าบิ่นนี้มากทีเดียว
1.ปีแยร์ กูว์รี (Pierre Curie)
- นักฟิสิกส์ผู้พลีชีพให้กับกัมมันตภาพรังสี
ปีแยร์ต้องการทดสอบความคิดนี้ แต่จะทดลองกับอะไรล่ะ อาจจะเป็นเพราะว่าเขาเป็นนักฟิสิกส์ ไม่ใช่นักทดลองชีววิทยา แทนที่จะทดลองกับหนูทดลอง เขากลับทดลองกับตนเอง ปีแยร์วางเรเดียมคลอไรด์ที่อัดแน่นอยู่บนผ้าพันแผลลงบนแขน ทิ้งไว้ 10 ชั่วโมง ก็พบว่า เนื้อของเขาไหม้ต้องใช้เวลารักษาอยู่ 2 เดือนจึงจะหาย ปีแยร์หันไปร่วมมืกับแแพทย์ผิวนัง เพื่อพัฒนาการบำบัดรักษาด้วนกัมมันตภาพรังสี ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันนี้ก็ยังคงใช้การฉายรังสีบำบัดทำลายเซลล์มะเร็ง
ภาพปีแยร์ กูว์รี (Pierre Curie) (ซ้าย) ภาพปีแยร์และมารี กูว์รี ขณะทำการทดลอง เรื่อง ธาตุเรดียม(ขวา)
ที่มาภาพ https://i2.wp.com
2.แจ็ก บานส์ ( Dr. Jack Barnes)
- แพทย์ผู้ยอมให้แมงกะพรุนพิษกัด
นายแพทย์บานส์ลงทุนอีกครั้ง เขาให้แมงกะพรุนกัดตัวเอง เท่านั้นยังไม่พอ เขายังโน้มน้าวลูกชายวัย 14 ปี และเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยชายฝั่งมาร่วมในการทดลองด้วย ผลก็คือ หนูทดลองทั้งสามกลายเป็นผู้ป่วยหนักทันที พิสูจน์ว่า แมงกะพรุนจิ๋วนี้เป็นสาเหตุของอาการอิรุคันด์จิ แมงกะพรุนนี้จึงได้ชื่อว่า Carukia barnesi เพื่อให้เกียรติผู้ค้นพบซึ่งรอดชีวิตมาได้เช่นเดียวกับลูกชายและผู้ดูแลความปลอดภัยชายฝั่งทะเล
แมงกะพรุนจิ๋ว Carukia barnesi มีขนาดไม่ถึง 3 ซม. แต่พิษร้ายแรง
ที่มาภาพ http://www.abc.net.au , http://cdn1.vagabond.se
3.เอากุสท์ เบียร์ (August Bier)
- การทดสอบยาชาแสนระห่ำ
ในยุคแรกเราใช้แก๊สไนตรัสออกไซด์เป็นยาชา จนค.ศ.1884 มีการค้นพบว่า โคเคนมีฤทธิ์ทำให้ร่างกายหมดความรู้สึก เอากุสท์ เบียร์ ศัลยแพย์ชาวเยอรมันเกิดคำถามว่า เราจะฉีดยานี้เข้าช่องไขสันหลังของผู้ป่วยได้หรือไม่ เพราะไขสันหลังเป็นตัวสื่อสารความรู้สึกระหว่างร่างกายกับสมอง ถ้าทำสำเร็จก็เหมือนตัดถนนความรู้สึกเจ็บปวดได้นั่นเอง
ค.ศ.1898 เบียร์ให้เอากุสท์ ฮิลเดอบรันดท์ ผู้ช่วย ฉีดโคเคนที่บริเวณช่องไขสันหลังให้เขา แต่มันล้มเหลวไม่เป็นท่า แม้ฮิลเดอบรันดท์จะวางเข็มในตำแหน่งที่ถูกต้อง แต่โคเคนกลับไม่ได้เข้าสู่ช่องไขสันหลัง แต่เบียร์ไม่ยอมแพ้ คราวนี้เขาลงมือฉีดยาให้กับผู้ช่วยเองจนสำเร็จ
การทดสอบประสิทธิภาพของโคเคนนั้นแสนบ้าระห่ำ เมื่อเบียร์ใช้ไฟเผาผิวตรงขา ดึงขนที่หัวหน่าว แล้วฟาดไปที่อัณฑะของฮิลเดอบรันดท์ แต่ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ไม่มีทั้งน้ำตาและเสียงร้อง ทั้งคู่ฉลองความสำเร็จด้วยอาหารมื้อพิเศษ แต่ยาชาที่ใช้กันในปัจจุบัน เราใช้สารอื่นที่ทำให้เสพติดน้อยกว่าโคเคน แต่ก็ยังถือว่าเอากุสท์ เบียร์ คือบิิดาแห่งยาชา
ที่มาภาพ https://www.researchgate.net
4.ชอง หลุยส์ เชเนวีแยฟว์ กูยง
- กินอาเจียนเพื่อหาสาเหตุของโรค
ค.ศ.1822 ชอง หลุยส์ เชเนวีแยฟว์ กูยง หัวหน้าศัลยแพทย์ของกองทัพฝรั่งเศส คิดว่าโรคนี้ไม่น่าติดต่อจากคนสู่คนได้ เพื่อพิสูจน์สมมติฐาน เขาทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตัวเองติดเชื้อ ทั้งสวมเสื้อที่โชกเหงื่อของผู้ป่วยทั้งวัน กินอาเจียนของผู้ป่วย นอนบนเตียงที่ละเลงด้วยอุจจาระและอาเจียนของผู้ป่วยที่เพิ่งเสียชีวิต ฉีดอาเจียนเข้าสู่ร่ากาย แต่กลับมีแค่อาการติดเชื้อเล็กน้อย แต่ไม่ใช่ไข้เหลือง กูยงสรุปว่า "ถ้าโรคนี้ไม่ติดต่อกันทั้งทางเหงื่อ อาเจียน หรืออุจจาระ แสดงว่าการติดเชื้อระหว่างคนด้วยกัน แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย" ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1900 แพทย์ชาวอเมริกันได้พบความจริงว่า ยุงคือพาหะของโรคนี้
พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เหลือง
ที่มาภาพ http://img.medscapestatic.com
- แพทย์ผู้ยอมเสี่ยงตาย
10 ธันวาคม ค.ศ.1954 ชายคนหนึ่งสวมหมวกกันน็อก นั่งบนเก้าอี้้ล้อเลื่อนที่เคลื่อนที่ไปบนราง อ้อ! ลืมบอกไปว่า เก้าอี้นี้พุ่งไปข้างหน้าด้วยมอเตอร์จรวด จอห์น แสตปป์นั่งอยู่บนกลไกนี้ด้วยความเร็วกว่า 1000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิธีหยุดก็เลวร้ายไม่ต่างกัน เบรกที่ติดไว้บนรางหยุดเก้าอี้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเพียง 1.4 วินาที ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งรถพุ่งชนกำแพงอิฐด้วยความเร็วเกือบ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สแตปป์เป็นทั้งแพทย์และเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศอเมริกัน เล่าว่าเขาปวดตาจนแทบทนไม่ไหว เขาทำแบบนี้มานับ 10 ครั้ง โชคดีที่ยังปลอดภัย
สแตปป์เข้าร่วมการพัฒนาเก้าอี้ดีดยุคแรกๆ เขาต้องร่วมทดสอบว่าร่างกายมนุษย์สามารถถูกดีดออกจากเครื่องบินที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 1 มัค พร้อมกับเก้าอี้ได้หรือไม่ เพราะไม่มีหุ่นทดสอบหรือการจำลองโดยคอมพิวเตอร์ ทีมแพทย์จึงต้องส่งตัวแทนไปทดสอบ ต้องขอบคุณความกล้าหาญของเขา เราจึงรู้ว่าร่างกายมนุษย์แข็งแรงพอที่จะถูกดีดออกจากเครื่องบินได้
จอห์น พอล สแตปป์ (John Paul Stapp) (ภาพซ้าย) และภาพขณะเขาร่วมพัฒนาเก้าอี้ดีดในเครื่องบินขับไล่ (ภาพขวา)
ที่มาภาพ http://www.badassoftheweek.com ,http://bizzarrobazar.com
5.จอห์น เบอร์ดอน แซนเดอร์สัน ฮอลเดน
- อุทิศร่างกายเพื่อการทดลอง
เขาสูดออกซิเจนที่มีแรงดันสูงเข้าไปจนเพ้อ พิสูจน์ให้เห็นถึงภาวะเมาไนโตรเจนเมื่ออยู่ใต้ทะเลลึก (มีไนโตรเจนในเลือดมากเกินไป) ทำให้เยื่อแก้วหูฉีดขาด สุดท้ายคือทำร้ายกระดูกสันหลังอย่างรุนแรง ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า เกิดจาก "มีฟองฮีเลียมอยู่ในกระดูกสันหลัง"
การทดลองของเขาช่วยให้กำหนดสัดส่วนของแก๊สแต่ละชนิดที่บรรจุในถังดำน้ำ เพื่อช่วยให้ชีวิตนักประดาน้ำปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
การทดลองของเขาช่วยให้กำหนดสัดส่วนของแก๊สแต่ละชนิดที่บรรจุในถังดำน้ำ เพื่อช่วยให้ชีวิตนักประดาน้ำปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
จอห์น เบอร์ดอน แซนเดอร์สัน ฮอลเดน และการทดลองของเขา ทำให้นักประดาน้ำทั่วโลกดำน้ำได้อย่างปลอดภัย
ที่มาภาพ http://images.npg.org.uk , http://www.daviddarling.info
ที่มาข้อมูล นิตยสาร Go Genius ฉบับที่ 95 ปีที่ 8 2556
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น